” หลวงปู่ศุขลือชา เขื่อนเจ้าพระยาลือชื่อ
นามระบือสวนนก ส้มโอดกขาวแตงกวา

 

ดาวน์โหลดโมบายแอพ Go! ชัยนาท

จังหวัดชัยนาท

ประวัติความเป็นมา

ประวัติและอาณาเขต

       ประวัติความเป็นมา เมืองชัยนาทเป็นเมืองโบราณ ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ตรงทางแยกฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากน้ำเมืองสรรค์ (ปากคลองแพรกศรีราชาใต้ปากลำน้ำเก่า) เมืองนี้ตั้งขึ้นภายหลังเมืองพันธุมวดี (สุพรรณบุรี) เป็นเมืองหน้าด่านของกรุงสุโขทัยจากศิลาจารึกสมัยพ่อขุนรามคำแหงมีแต่ชื่อเมืองแพรก ส่วนเมืองชัยนาท เพิ่งมาปรากฏในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑

       เมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๐ ซึ่งเป็นปีที่พระเจ้าเลอไทสวรรคต กรุงสุโขทัยเกิดการแย่งชิงราชสมบัติสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ทรงเห็นเป็นโอกาสเหมาะ จึงยกกองทัพเข้ายึดเมืองชัยนาท หลังจากพระยาลิไทขึ้นครองราชย์ ทางกรุงศรีอยุธยาซึ่งสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ได้สถาปนาให้เป็นราชธานีมีกำลังเข้มแข็งมาก จึงได้โปรดให้ขุนหลวงพะงั่วซึ่งครองเมืองสุพรรณบุรียกทัพมาตีเมืองชัยนาท ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของ กรุงสุโขทัย เมืองชัยนาทจึงตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา โดยมีขุนหลวงพะงั่วเป็นผู้รักษาเมือง เมื่อกรุงสุโขทัยสงบแล้วพระยาลิไทได้ส่งทูตมากรุงศรีอยุธยา เพื่อเจรจาขอเมืองชัยนาทคืนให้แก่กรุงสุโขทัย โดยจะยอมให้เป็นอิสระและมีสัมพันธไมตรีต่อกัน กล่าวคือ ต่างฝ่ายต่างก็มีอิสระต่อกัน ในที่สุดกรุงศรีอยุธยาได้คืนเมืองชัยนาทให้แก่กรุงสุโขทัย

       นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าการที่แคว้นกัมพุช (ลพบุรี) เข้าร่วมมือในการรบ ประกอบกับกรุงศรีอยุธยากำลังสถาปนาได้ไม่นาน ถ้ามีศึกขนาบสองด้านจะสร้างปัญหาให้ไม่น้อย ด้วยเหตุผลนี้เองที่ทำให้กรุงศรีอยุธยาคืนเมืองชัยนาทแก่กรุงสุโขทัยโดยดี อย่างไรก็ตามปัญหาเรื่องเมืองชัยนาท ระหว่างกรุงสุโขทัยกับกรุงศรีอยุธยาก็หาได้ยุติไม่ เพราะในปี พ.ศ. ๑๙๑๒ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ เสด็จสวรรคตทำให้สถานการณ์ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับกรุงสุโขทัยกลับตึงเครียดขึ้นอีก เมื่อขุนหลวงพะงั่วขึ้นครองราชย์แล้วได้เสด็จยกทัพมาโจมตีกรุงสุโขทัย ในปี พ.ศ. ๑๙๑๔ แต่ไม่มีฝ่ายใดเป็นฝ่ายชนะสงครามยืดเยื้อกันมาเป็นเวลานานจนขุนหลวงพะงั่วเสด็จสวรรคต

       นักประวัติศาสตร์ เข้าใจว่าเมืองชัยนาทกลับเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง เพราะจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พอสรุปได้ว่า เมืองชัยนาทแต่เดิมเป็นเมืองลูกหลวงสมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยสมเด็จพระนครินทราธิราช โอรสองค์ที่ ๕ ของขุนหลวงพระงั่ว พระองค์เข้าพระทัยว่าในการข้างหน้ากรุงสุโขทัยจะต้องไม่มีเชื้อพระวงศ์สุโขทัยปกครองอีกต่อไป เพื่อที่จะให้ราชโอรสทั้ง ๓ ของพระองค์ได้ครอบครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ และคุ้นเคยกับการปกครองบ้านเมือง จึงโปรดให้โอรสองค์ใหญ่ ซึ่งทรงพระนามว่าเจ้าอ้ายพระยาไปครองเมืองสุพรรณบุรี เจ้ายี่พระยา โอรสองค์ที่ ๒ ไปครองเมืองแพรก หรือ ตรัยตรึงษ์ (อำเภอสรรคบุรีในปัจจุบันนี้) เจ้าสามพระยา โอรสองค์ที่ ๓ ไปครองเมืองชัยนาท

       ต่อมาเมื่อสมเด็จพระนครินทราธิราชเสด็จสวรรคต ความทราบถึงเจ้ายี่พระยาก่อนจึงได้เตรียมการที่จะขึ้นครองกรุงศรีอยุธยาสืบแทนต่อจากพระราชบิดา ฝ่ายเจ้าอ้ายพระยาเมื่อสืบทราบว่า พระราชอนุชายกกองทัพไปกรุงศรีอยุธยาเพื่อต้องการจะครอบครองราชย์สมบัติ จึงรีบยกกองทัพไปบ้าง ประสงค์จะขึ้นครองราชย์สมบัติเช่นกันกองทัพทั้งสองพบกันที่ตำบลปาถ่าน แขวงกรุงศรีอยุธยา จึงเกิดรบพุ่งกัน ในที่สุดก็สิ้นพระชนม์ลงทั้งสองพระองค์พร้อมกันด้วยการกระทำยุทธหัตถี ฝ่ายเจ้าสามพระยา

       ซึ่งขณะนั้นครองเมืองชัยนาทอยู่ เมื่อสมเด็จพระเชษฐาสิ้นพระชนม์ทั้งสองพระองค์แล้ว จึงได้ขึ้นเสวยราชย์ครองกรุงศรีอยุธยาสืบแทนพระราชบิดาทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ พ.ศ. ๑๙๙๔ พระเจ้าติโลกราช ครองเมืองเชียงใหม่ยกทัพมาตีเมืองกำแพงเพชรได้แล้ว ส่งกำลังเข้ามากวาดต้อนผู้คนถึงเมืองชัยนาท เข้าใจว่าเมืองชัยนาทจะถูกทิ้งให้เป็นเมืองร้างในคราวนั้นเอง เวลาได้ล่วงมาได้ประมาณ ๑๐๐ ปีเศษ ถึงรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิครองกรุงศรีอยุธยา ทรงสะสมอาวุธยุทธภัณฑ์ เพื่อเตรียมต่อสู้กับพม่า

       จึงเสด็จขึ้นไปกระทำพระราชพิธีมัธยมกรรมที่ตำบลชัยนาทบุรี แล้วตั้งเมืองชัยนาทขึ้นใหม่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งตรงข้ามกับตัวเมืองเดิม พ.ศ. ๒๑๒๗ พระเจ้าเชียงใหม่ (มังนรธาช่อ) ได้ยกกองทัพหลวงมาตั้งที่เมืองชัยนาท ครั้นทัพหน้าที่เข้ามาตั้งที่ปากคลองบางพุทราถูกพระราชมนูตีถอยกลับไปแล้ว พระเจ้าเชียงใหม่ก็ถอยทัพไปตั้งที่กำแพงเพชร ตามหลักฐานของกรมศิลปากร จังหวัดชัยนาทเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๙ ตรงกับวันเสาร์ เดือน ๙ ขึ้น ๑๒ ค่ำ (วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๓๑๙)

       พระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ยกกองทัพขึ้นมาขับไล่ ซึ่งกำลังรบติดพันกับไทยที่นครสวรรค์ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จมาถึงเมืองชัยนาทแล้ว ทัพพม่าได้ข่าวก็ตกใจเกรงกลัวจึงละทิ้งค่ายที่นครสวรรค์แตกหนีไปทางเมืองอุทัยธานี พระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงยกกองทัพติดตามข้าศึก จนถึงบ้านเดิมบางนางบวช แขวงเมืองสุพรรณบุรี และเข้าโจมตีข้าศึกจนแตกยับเยิน ด้วยเหตุนี้ทางจังหวัดชัยนาทจึงถือว่าวันที่ ๒๘ กรกฎาคม เป็นวัน “สถาปนาจังหวัด” โดยที่เมืองชัยนาทตั้งอยู่ทางตอนเหนือของภาคกลางตั้งอยู่ระหว่างกรุงสุโขทัยกับกรุงศรีอยุธยา ในยามใดที่กรุงสุโขทัยเรืองอำนาจ ก็ยึดเอาเมืองชัยนาทเป็นเมืองหน้าด่าน แต่ยามใดที่กรุงสุโขทัยเสื่อมอำนาจและกรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรือง

       เมืองชัยนาทก็จะเป็นเมืองสะสมอาวุธยุทธภัณฑ์ของกรุงศรีอยุธยาแม้แต่ในสมัยกรุงธนบุรีเมืองชัยนาทก็ยังเป็นที่ตั้งทัพหลวงในการทำศึกกับพม่าด้วยเหตุนี้เมืองชัยนาทจึงได้รับความกระทบกระเทือนจากสงครามอย่างมากเป็นเวลานับร้อยปี ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้สร้างศาลากลางจังหวัดขึ้นที่ตำบลบ้านกล้วย ครั้นถึงรัชกาลที่ ๕ ได้ทรงตั้งกองทหารราบที่ ๑๖ ขึ้นที่เมืองชัยนาท ซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้งศาลากลางจังหวัดปัจจุบัน และเมื่อกองทหารราบที่ ๑๖ ได้ย้ายไปที่นครสวรรค์จึงย้ายศาลากลางไปตั้งในบริเวณที่เป็นกองทหารราบที่ ๑๖

       สำหรับเมืองชัยนาทนี้ จะได้นามมาแต่เมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่นอน ถ้าจะแปลความหมายของ “ชัยนาท” ก็น่าจะได้ความว่า เมืองที่มีชื่อเสียงในทางความมีชัย เป็นที่น่าสันนิษฐานว่าชื่อเมืองชัยนาทนี้คงจะได้ตั้งขึ้นภายหลังจาก พ.ศ. ๑๗๐๒ แต่คงไม่ถึง พ.ศ. ๑๙๔๖ กล่าวคือ ขุนเสือ ขวัญฟ้า หรือเจ้าคำฟ้า กษัตริย์เมืองเมาเข้าทำสงครามกับอาณาจักรโยนกเจ้าเมืองฟังคำ ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งในอาณาจักรโยนก หลังจากฟังคำแตก เจ้าเมืองฟังคำจึงอพยพผู้คนลงมาที่เมืองแปบ (กำแพงเพชร) แล้วสร้างเมืองตรัยตรึงษ์ ที่ตำบลแพรก (ต.แพรกศรีราชาในปัจจุบัน) หลังจากนั้นคงจะได้สร้างเมืองชัยนาทขึ้น และเหตุที่ตั้งชื่อชัยนาทคงเนื่องจากการรบชนะเจ้าของท้องถิ่นเดิม ส่วนที่กล่าวว่านามชัยนาทคงจะได้มาก่อน พ.ศ. ๑๙๔๖ นั้น

       เนื่องจากสมเด็จพระนครินทราธิราชได้โปรดให้เจ้าสามพระยาไปครองเมืองชัยนาท ตามความในประวัติศาสตร์พอจะเป็นสิ่งที่สันนิษฐานกันได้ว่า คำว่าชัยนาท คงจะได้ชื่อมาก่อนปี พ.ศ. ๑๙๔๖ อย่างไรก็ตาม คำว่า “ชัยนาท” ก็เป็นนามที่เป็นสิริมงคลมาแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน เพราะชัยนาทก็ยังบันลือไปด้วยชัยชนะต่อความอดอยากหิวโหย ยังความผาสุกให้แก่ชาวชัยนาทและจังหวัดใกล้เคียงตลอดลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีนและแม่น้ำน้อย จนถึงปัจจุบัน

อาณาเขต

อาณาเขต

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดนครสวรรค์
  • ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดสุพรรณบุรี
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดสิงห์บุรี
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดอุทัยธานี

แผนที่ท่องเที่ยวจังหวัดชัยนาท

Filter
Reset
เพิ่มสถานที่ใหม่เข้าไปในระบบ
เพิ่มข้อมูลท่องเที่ยวในระบบภูมิสารสนเทศของจังหวัดชัยนาท
เลือกไฟล์ในเครื่องหรือลากไฟล์มาไว้ที่นี่เพื่ออัพโหลด

ค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์

เลือกไฟล์ในเครื่องหรือลากไฟล์มาไว้ที่นี่เพื่ออัพโหลด

 

หมวดหมู่สถานที่น่าสนใจในจังหวัดชัยนาท

Atm
Bank
Gas station
Bus station
Department store
Doctor
Bar
Cafe
Car repair
Amusement park
Fire station
Gym
Hospital
Local government office
Lodging
Museum
Night club
Park
Pharmacy
Police
Restaurant
School
Shopping mall
Spa
Travel agency
Taxi stand
Train station
University

ทริปท่องเที่ยวจังหวัดชัยนาท

 

โปรแกรมท่องเที่ยวแนะนำ

เที่ยวชัยนาท2 วัน 1 คืน

วันที่ 1


ขับรถกันตั้งแต่เช้ามาถึงจังหวัดชัยนาทก็ขอเริ่มต้นการเดินทางด้วยการแวะเข้าไปกราบไหว้พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่วัดพระบรมธาตุวรวิหาร วัดคู่บ้านคู่เมืองชัยนาท วัดพระบรมธาตุวรวิหารนั้นมีอายุหลายร้อยปี สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ในบริเวณวัดนั้นมีจุดที่ห้ามพลาดหลายจุด ทั้งเจดีย์พระบรมธาตุรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบอู่ทองที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ รวมถึงบ่อน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ในพระวิหารที่มีน้ำออกมาตลอดเวลา โดยน้ำในการทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาก็มาจากบ่อแห่งนี้นั่นเอง

ค่าเข้า : ฟรี
วันและเวลาทำการ : ทุกวัน ตั้งแต่ 8.00 – 17.00 น.
ที่อยู่ : บ้านไทยเมือง หมู่ 6 ตำบลชัยนาท อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท

เบอร์โทรศัพท์ : 035 525 867

ช่วงบ่ายเราจะพาเพื่อนๆ ไปต่อกันที่เที่ยวชัยนาทอย่างสวนนกชัยนาท สวนนกขนาดใหญ่มีพื้นที่ถึง 248 ไร่ ดังนั้นเราจึงยกเวลาช่วงบ่ายทั้งหมดมาใช้ที่นี่ โดยที่สวนนกแห่งนี้ได้รวบรวมนกหลากหลายพันธุ์ทั้งนกพันธุ์ไทย พันธุ์ต่างชาติ รวมถึงนกเงือก นกประจำจังหวัดชัยนาท แถมยังมีกรงนกขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียอยู่ด้วย ตรงนี้เพื่อนๆ สามารถเดินเข้าไปชมพร้อมใกล้ชิดกับเหล่านกได้ด้วย ส่วนใครอยากเรียนรู้เพิ่มเติมก็สามารถแวะไปที่พิพิธภัณฑ์ไข่นก พิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมไข่นกหลายสายพันธุ์ แถมบางพันธุ์นั้นยังใกล้สูญพันธุ์ หาดูได้ยากมากๆ นอกจากนกแล้วยังมีอาคารจัดแสดงปลาน้ำจืดซึ่งมีอุโมงค์ปลาให้เพื่อนๆ ได้ไปเดินลอดอุโมงค์ชมฝูงปลากัน

ค่าเข้า : ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 15 บาท
วันและเวลาทำการ : ทุกวัน ตั้งแต่ 8.00 – 17.00 น.
ที่อยู่ : บริเวณเชิงเขาพลอง ถนนพหลโยธิน ตำบลเขาท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท

เบอร์โทรศัพท์ : 056 476 617

ออกไปผจญภัยที่เที่ยวชัยนาทมาเหนื่อยๆ ทั้งวัน ขอเลือกที่พักชัยนาทบรรยากาศดีอย่างสุวรรณา ริเวอร์ไซด์ รีสอร์ทดีกว่า เพราะที่พักชัยนาทแห่งนี้มีการตกแต่งให้เพื่อนๆ ได้อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติทั้งสวนสวย แถมยังมีน้ำตกจำลองทำให้รู้สึกสดชื่นสุดๆ นอกจากนั้นที่พักแห่งนี้ยังตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีบริการล่องเรือทานอาหารเย็นชมพระอาทิตย์ตกลับริมขอบฟ้าในราคาไม่แพง แถมยังได้รับความเป็นส่วนตัวมากๆ ห้องพักก็มีให้เลือกหลากหลายตามที่ต้องการ ทั้งห้องริมน้ำ ห้องวิวสวน หรือใครอยากจะนอนห้องพักใกล้น้ำตกจำลองก็มีให้เลือกกัน ภายในก็ไม่ต้องห่วงเพราะมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้ พักผ่อนสบายทั้งคืนแน่นอน

วันที่ 2


เช้าวันที่สองเราจะไปเที่ยวกันที่เขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่แห่งแรกของประเทศไทย มีความยาวกว่า 237.5 เมตร สูงกว่า 16.5 เมตร เขื่อนแห่งนี้นอกจากจะมีความสำคัญทางด้านชลประทานและการเกษตรแล้วยังมีความสวยงามตามธรรมชาติ เพื่อนๆ สามารถไปเดินเล่นรับบรรยากาศกันได้ ยิ่งในช่วงเดือนมกราคมของทุกปีจะมีฝูงนกเป็ดน้ำนับหมื่นตัวบินมาอาศัยอยู่บริเวณเหนือเขื่อนด้วย

ค่าเข้า : ฟรี
วันและเวลาทำการ : 24 ชั่วโมง
ที่อยู่ : คุ้งบางกระเบียน หมู่ 3 ตำบลบ้านหลวง อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท

เบอร์โทรศัพท์ : 056 405 012 – 6 ต่อ 210

มาต่อกันที่สถานที่เที่ยวชัยนาทแห่งใหม่ซึ่งก็คือสะพานลูกบวบข้ามบึงกระจับใหญ่ โดยสะพานแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางไปยังเกาะเมืองท้าวอู่ทอง ในอดีตนั้นสามารถไปได้วิธีเดียวโดยการนั่งเรือแต่เมื่อมีการสร้างสะพานขึ้นทำให้เดินทางสะดวกสบายมากขึ้น แถมยังกลายมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่อีกด้วย โดยบริเวณรอบเกาะเมืองท้าวอู่ทองนั้นมีธรรมชาติสวยงามอยู่รายล้อมทั้งบัวที่ขึ้นในแม่น้ำ รวมถึงนกนานาชนิด เรียกได้ว่ามีระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์มาก

ค่าเข้า : ฟรี
วันและเวลาทำการ : 24 ชั่วโมง
ที่อยู่ : คุ้งบางกระเบียน หมู่ 3 ตำบลบ้านหลวง อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท

เบอร์โทรศัพท์ : 056 405 012 – 6 ต่อ 210

ที่สุดท้ายก่อนกลับบ้านต้องขอไปเยี่ยมเยือนวัดมหาธาตุหรือวัดหัวเมือง วัดโบราณที่อยู่คู่ตำบลแพรกมานานนับร้อยปี สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ภายในบริเวณวัดมีโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากมาย ทั้งวิหารวัดมหาธาตุ โดยปัจจุบันได้ชำรุด ไม่มีหลังคา แต่ยังสามารถเห็นเป็นรูปทรงแปดเหลี่ยมมีทางขึ้นเพียงด้านหน้าเท่านั้น ส่วนด้านหลังก็มีทางเดินเชื่อมไปบริเวณลานหลังพระธาตุ ภายในมีพระพุทธรูปปูนปั้นหลวงพ่อใหญ่อายุกว่า 700 ปีอยู่

ค่าเข้า : ฟรี
วันและเวลาทำการ : ทุกวัน ตั้งแต่ 8.00 – 17.00 น.
ที่อยู่ : หมู่ที่ 8 ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท

เบอร์โทรศัพท์ : 035 525 867

ประเพณีที่สำคัญของจังหวัดชัยนาท

สินค้าอัตลักษณ์ชุมชน